เกี่ยวกับเทศบาล
ประวัติความเป็นมา เหตุที่ได้ชื่อว่า "หาดเจ้าสำราญ" ด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ให้ข้าราชบริพารเสาะหาพื้นที่ที่มีอากาศเหมาะสม มีโอโซนพอเหมาะ และน้ำทะเลมีไอโอดีนสูง ในการเสด็จพระราชดำเนินมาพักผ่อนและรักษาพระวรกายของพระองค์ท่าน จากการสำรวจพบว่า สถานที่ที่เอื้ออำนวยเป็นอย่างยิ่งต่อพระพลานามัยของพระองค์ท่าน คือบริเวณชายหาดบางทะลุ พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระตำหนักที่ประทับ ชื่อค่ายหลวงบางทะลุจากการที่พระองค์ได้ประทับที่ค่ายแห่งนี้ในแต่ละครั้งเป็นเวลาหลายวัน บางครั้งเป็นเดือน ระหว่างช่วงปีพุทธศักราช 2461-2466 ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ที่นี่ พระองค์ทรงเกษมสำราญจากการลงสรงน้ำทะเลเป็นอย่างมาก จังโปรดเกล้า ฯให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ" นับจากนั้นชายหาดบางทะลุ จึงได้รับการขนานนามใหม่ว่า "หาดเจ้าสำราญ" ซึ่งปัจจุบันนั้ไม่มีร่องรอยของพระตำหนักค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญหลงเหลืออยู่เลย เหลือเพียงชื่อที่ชาวหาดเจ้าสำราญ ได้ภาคภูมิใจและอยู่ในความทรงจำไม่เคยจางหาย
|
วิสัยทัศน์และการพันธกิจ วิสัยทัศน์การพัฒนา “ หาดเจ้าสำราญมุ่งเน้นสู่สากล พัฒนาคน ชุมชน เศรษฐกิจ วางรากฐานการท่องเที่ยว แบบปลอดภัยและยั่งยืน ” |
|
สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ อยู่ในเขตตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกของอำเภอเมืองเพชรบุรี ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3177 มีพื้นที่ทั้งหมด 19.455 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,159 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ มีลักษณะเป็นที่ราบลาดเอียงลงสู่อ่าวไทย มีลำคลองธรรมชาติไหลผ่านพื้นที่เทศบาล 3 สาย ได้แก่ คลองบางทะลุ คลองหัวตาลและคลองใหญ่ มีถนนกั้นน้ำเค็ม 1 สาขา จากอำเภอบ้านแหลม ผ่านตำบลหาดเจ้าสำราญไปอำเภอท่ายาง ลักษณะภูมิอากาศ เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญมี 3 ฤดูกาล ตามอากาศทั่วไปของประเทศ สภาพมีอากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัด ทั้งนี้เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล หนาวในรอบปีประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ - อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 37.1 องศาเซลเซียส - อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 16.1 องศาเซลเซียส - ปริมาณน้ำเฉลี่ยประมาณ 832 มิลลิเมตรต่อปี - ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ยอยู่ในช่วง 62 – 80 % อาณาเขต ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ตรงเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลหนองพลับ ตรงริมทางหลวงจังหวัดเพชรบุรี – หาดเจ้าสำราญฟากเหนือ เส้นเขตถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลหนองพลับไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลนาพันสามแล้วถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลนาพันสามไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ตรงเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลแหลมผักเบี้ย จากหลักเขตที่ 2 คือ ตามเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลแหลมผักเบี้ยไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล ทิศตะวันออก ตั้งแต่หลักเขตที่ 3 เลียบตามริมฝั่งทะเลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงหลักเขต ที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ตรงเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลหนองขนาน ทิศใต้ ตั้งแต่หลักเขตที่ 4 ถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลหนองขนาน ไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งอยู่ตรงริมคลองชลประทานสาย 3 ฝั่งใต้ ทิศตะวันตก ตั้งแต่หลักเขตที่ 5 ถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลหนอง ขนานไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 6 ตรงเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลหนองพลับ จากหลักเขตที่ 6 ถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลหาดเจ้าสำราญกับตำบลหนองพลับไปทางทิศเหนือบรรจบหลักเขตที่ 7 |
การเมืองการปกครอง เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ ได้เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาลหาดเจ้าสำราญ ตาม พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 โดยเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลตำบลหาดเจ้าสำราญเป็นเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ มีพื้นที่ในความรับผิดชอบประมาณ 19.455 ตารางกิโลเมตร โดยมีตราประจำเทศบาลเป็นรูปชายทะเลหาดเจ้าสำราญ ปัจจุบันสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 226/115 ถนนเพชรบุรี – หาดเจ้าสำราญ ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี |
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร - ลักษณะต่าง ๆ ของการประกอบอาชีพ 1. เกษตรกรรม (เพาะปลูก, ประมง) 2. อุตสาหกรรม 3. พาณิชยกรรม 4. รับจ้าง 5. การบริการท่องเที่ยว 1. การเกษตรกรรม - ทำนาในเขตเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญมีพื้นที่ทำนาประมาณ 6,137 ไร่ - ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น 35 ไร่ - บ่อกุ้งและบ่อปลา 234 ไร่ - พื้นที่นาเกลือ 800 ไร่ (ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเพชรบุรี) - ประมงในเขตเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญมีเนื่องจากพื้นที่ของเทศบาลติดชายทะเล ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร โดยลักษณะเป็นการทำประมงชายฝั่ง เป็นประมงขนาดกลางถึงขนาดเล็ก 2. อุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะมีเพียงโรงสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน 3 แห่ง เป็นแรงงานในครอบครัว 3. การพาณิชยกรรม/การบริการ การพาณิชยกรรมและการบริการส่วนใหญ่จะเป็นการค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยอาคารร้านค้าต่าง ๆ จะตั้งอยู่ในเขตชุมชนบริเวณริมทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 3177 และถนนหาดเจ้าสำราญ โดยแบ่งประเภทร้านค้าได้ดังนี้ - ร้านขายของชำ 25 ร้าน - ร้านอาหารเครื่องดื่ม 47 ร้าน - ร้านเสื้อผ้า 3 ร้าน - ร้านบริการเสริมสวย 12 ร้าน - ร้านจำหน่ายยา 2 ร้าน - โรงแรม 14 แห่ง - ปั๊มน้ำมัน 2 แห่ง (ที่มา : กองคลัง)
4. การท่องเที่ยว เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญมีลักษณะภูมิประเทศที่สวยงามเป็นชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงและมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจรวมทั้งมีสถานที่พักผ่อน โรงแรม รีสอร์ท ที่สวยงามหลายแห่ง จึงเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวโดยมีจำนวน 33,600 คน ต่อปี มีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 13,440,000 บาท ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายประมาณคนละ 400 บาท
5. การปศุสัตว์ ในเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นตัว โดยเลี้ยงเพื่ออนุบาลสัตว์แล้วขายเท่านั้น
(ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี) |
สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญมีจำนวนสถานศึกษาทั้งหมด 5 แห่ง แบ่งเป็น 1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
2) โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้แก่
ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญนับถือศาสนาพุทธ
ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการแข่งเรือประมง
ทะเบียนภูมิปัญญาท้องถิ่น เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
รายละเอียดฐานข้อมูลศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมท้องถิ่น
|
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ การคมนาคม/ขนส่ง ในเขตเทศบาลหาดเจ้าสำราญมีการใช้ติดต่อและขนส่งเพียงเส้นทางรถยนต์เท่านั้นซึ่งแยกได้ดังนี้ 1. ถนนสายหลัก - ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3177 เป็นถนนที่แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นเส้นทางสายหลักที่ใช้ติดต่ออำเภอเมืองเพชรบุรี สภาพผิวจราจรเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องทางวิ่ง ผิวจราจรกว้าง 7.00 ม. และมีเขตทางกว้าง 30.00 ม. - ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3187 เป็นถนนสายหลักอีกเส้นหนึ่งซึ่งเชื่อมต่อจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เป็นเส้นทางใช้ติดต่อขนส่งกับอำเภอท่ายาง สภาพผิวจราจรเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 10.00 ม. พร้อมไหล่ทางและมีเขตทางกว้าง 20.00 ม. - ทางหลวงชนบท หมายเลข พบ. 4028 เป็นถนนสายหลักเรียบชายทะเล เป็นเส้นทางใช้ติดต่อขนส่งกับอำเภอชะอำ สภาพผิวจราจรเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร กว้าง 8.00 ม. พร้อมไหล่ทาง - ทางหลวงชนบท หมายเลข 4033 เป็นถนนสายหลักเรียบชายทะเล เป็นเส้นทางใช้ติดต่อขนส่งกับอำเภอบ้านแหลม สภาพผิวจราจรเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร กว้าง 8.00 ม. พร้อมไหล่ทาง 2. ถนนสายรอง - ถนนสายทางเข้าหมู่ที่ 4 เป็นถนนที่แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3177 ใช้ติดต่อกับบ้านบางทะลุ มีสภาพผิวจราจรเป็นถนนคอนกรีต 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 5.00 ม. - ถนนสายแยกหาดเจ้าสำราญ – นาพันสาม (ถนน อบจ.เพชรบุรี) ใช้ติดต่อกับบ้านดอนบ้านใหม่ และบ้านบางทะลุ มีสภาพผิวจราจรเป็นผิวทางลาดยางกว้าง 7.00 ม. พร้อมไหล่ทาง - ถนนสายทางเข้า หมู่1,2 เป็นถนนวิ่งเลียบชายหาด ใช้เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่าง บ้านหาดเจ้าสำราญ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 สภาพผิวจราจรเป็นคอนกรีต 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 5.00 ม. - ถนนสายทางเข้าหมู่ 2 ตอนแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3177 (ตอนแยกเข้าสถานีพักฟื้นทหารบก) เป็นถนนวิ่งเลียบชายหาด ใช้เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่าง หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 6 สภาพผิวจราจรเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร ผิจราจรกว้าง 6.00 ม. - ถนนสาย บ้านโคกพลับ-บ้านดอนนาลุ่ม (ทางหลวง อบจ.เพชรบุรี) เป็นถนนแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3187 ใช้ติดต่อกับบ้านโคกพลับ หมู่ 3 และบ้านหนองตะพุก หมู่ 7 สภาพผิวจราจรลาดยาง 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 7.00 ม. พร้อมไหล่ทาง - ถนนสายทางเข้าหมู่ที่ 6 เป็นถนนที่แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3177 เข้าหมู่ที่ 5 ใช้ติดต่อกับบ้านสมอลก หมู่ที่ 5 สภาพผิวจราจรเป็นลาดยาง ผิวจราจรกว้าง 5.00 ม. ยาว 550.00 ม. และเป็นผิวจราจรกว้าง 4.00 ม. ยาว 1,987 ม. 3. ถนนสายย่อยหรือถนนลูกรังหรือหินคลุก ถนนสายย่อยเป็นถนนที่เชื่อมโยงพื้นที่ในเขตชุมชนเข้าด้วยกันโดยถนนซอยจะกระจายอยู่ตามกลุ่มชุมชนทั่วไป สภาพผิวการจราจรส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง คอนกรีต หินคลุก และลูกรัง ขนาดผิวจราจรเล็กมีระยะเขตทางกว้างประมาณ 3.00 – 5.00 ม. ดังนี้ - ซอย 3 หมู่ที่ 2 สภาพผิวการจราจรเป็นคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ยาว350 ม. กว้างเฉลี่ย 4.00 ม. - สายทางเข้าวัดหาดเจ้าสำราญ หมู่ที่ 2 สภาพผิวการจราจรเป็นลาดยางและคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ยาวประมาณ 320 ม. กว้างเฉลี่ย 5.00 ม. - สายทางเข้าหมู่ที่ 3 ยาวประมาณ 2,220 ม. สภาพผิวการจราจรเป็นคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ กว้างเฉลี่ย 5.00 ม. ยาวประมาณ 1,950 ม. - สายทางเข้าหมู่ที่ 6 สภาพผิวการจราจรเป็นคอนกรีต ยาวประมาณ 500 ม. กว้างเฉลี่ย 5.00 ม. - สายทางหมู่ที่ 7 สภาพผิวการจราจรเป็นคอนกรีตและลูกรัง ยาวประมาณ 1,200 ม. กว้างเฉลี่ย 4.00 ม. ส่วนที่เป็นคอนกรีตประมาณ 930 ม. - สายบางทะลุ - ดอนบ้านใหม่ (ถนน อบจ.เพชรบุรี) สภาพผิวการจราจรเป็นคอนกรีตยาวประมาณ 630 ม. กว้างเฉลี่ย 5.00 ม. สำหรับการบริการด้านการขนส่งในปัจจุบันมีรถโดยสารขนาดกลางซึ่งให้บริการจากเขตชุมชน หาดเจ้าสำราญไปยังเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี โดยวิ่งตั้งแต่เวลา 05.00 – 18.00 น. โดยประมาณอัตราค่าโดยสารคิดตามระยะทาง การไฟฟ้า ในเขตเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญมีการให้บริการด้านไฟฟ้า ดำเนิน การโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้บริการจ่ายกระแสไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 7 หมู่บ้าน จำนวน 1,984 ครัวเรือน การประปา ในเขตเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ การให้บริการด้านการประปาดำเนินการโดยประปาส่วนภูมิภาค ให้บริการแก่ประชาชน ครอบคลุมพื้นที่ 7 หมู่บ้าน จำนวน 952 ครัวเรือน รวมแล้วมีปริมาณการใช้น้ำประปา 19,356 คิวต่อเดือน การสื่อสารและโทรคมนาคม การไปรษณีย์ – โทรเลข ในเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญมีที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลข 1 แห่ง ตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3177 เป็นที่เช่าจากเอกชน การให้บริการจ่ายจดหมายสามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในเขตเทศบาล ทั้งหมด 7 หมู่บ้านจำนวน 1,984 ครัวเรือน ซึ่งครบทุกครัวเรือน โดยเปิดบริการตั้งแต่วันจันทร์ถึง วันศุกร์ เวลาประมาณ 8.30–16.30 น. โทรศัพท์ ในเขตเทศบาลยังมีโทรศัพท์ส่วนตัวจำนวน 512 เลขหมาย ข่ายวิทยุสื่อสาร ในเขตเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ มีการใช้วิทยุสื่อสารในอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ การสาธารณสุข ในเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดเจ้าสำราญ 1 แห่ง ให้บริการแก่ประชาชนมีเจ้าหน้าที่เป็น จำนวน 3 คน คิดเป็นเจ้าหน้าที่ 1 คนต่อประชากร 1,544 คน โดยมาใช้บริการเฉลี่ย 10,272 คนต่อปี มีร้านขายยา จำนวน 1 ร้าน คลินิก จำนวน 1 ร้าน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทศบาลได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นหลายรูปแบบ มีการวางแผนการดำเนินการทั้งระยะสั้นและระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดได้เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและบุคคล หรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ 1. แหล่งน้ำ 1.1 หนอง บึง จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ - สระน้ำสาธารณะหมู่ที่ 3 บ่อที่ 1 คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 2,000 ลบ.ม. - สระน้ำสาธารณะหมู่ที่ 3 บ่อที่ 2 คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 1,800 ลบ.ม. - สระน้ำสาธารณะหมู่ที่ 4 คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 18,000 ลบ.ม. - สระน้ำสาธารณะหมู่ที่ 5 คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 2,800 ลบ.ม. 1.2 คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ - คลองบางทะลุ - คลองหัวตาล - คลองใหญ่ ด้านสังคม ศาสนา วัฒนธรรมสวนสาธารณะ/สถานที่ออกกำลังกาย
1) ลานกีฬา หมู่ 4 บ้านดอนบ้านใหม่
2) สนามกีฬาโรงเรียนวัดบางทะลุฯ หมู่ 4
3) ลานกีฬา หมู่ 4 บ้านบางทะลุ (ข้างวัด)
4) ลานกีฬา หมู่ 2
5) สนามกีฬาโรงเรียนหาดเจ้าสำราญ (พรหมานุกูล) หมู่ 2
6) สนามกีฬาโรงเรียนบ้านบางกุฬา หมู่ 6
7) ลานกีฬา หมู่ 4 บ้านบางทะลุ (ท้ายหมู่บ้าน)
8) ลานกีฬา หมู่ 4 บ้านบางทะลุ (ข้างศาลาดับเพลิง)
9) ลานกีฬา หมู่ 3 บ้านโคกพลับ
10) สวนภูมิทัศน์หน้าชายหาดเจ้าสำราญ หมู่ 2
|