การดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในช่วงฤดูกาลระบาด

15 กรกฎาคม 2562
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

โรคมือ เท้า ปาก หรือ Hand Foot Mouth Disease ที่มีข่าวว่ากำลังระบาดอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ คงสร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่ไม่ใช่น้อย จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ พบผู้ป่วยแล้วประมาณ 13,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี และยังไม่พบผู้เสียชีวิตในประเทศไทย มาทำความรู้จักโรคนี้ พร้อมเรียนรู้วิธีการป้องกัน เพื่อช่วยกันยับยั้งการระบาดของโรคไม่ให้แพร่กระจายไปยังวงกว้าง


โรคมือ เท้า ปาก หรือ Hand Foot Mouth Disease ที่มีข่าวว่ากำลังระบาดอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ คงสร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่ไม่ใช่น้อย มาทำความรู้จักโรคนี้ พร้อมเรียนรู้วิธีการป้องกัน เพื่อช่วยกันยับยั้งการระบาดของโรคไม่ให้แพร่กระจายไปยังวงกว้าง

รู้จักโรคมือ เท้า ปาก

        โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) และคอคซาคีไวรัส (Coxsackievirus) มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี พบได้บ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็ก ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต ในผู้ใหญ่พบโรคนี้ได้บ้าง
 
การติดต่อ

          โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่ติดต่อกันได้จากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรคที่มาจากน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย รวมถึงการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายจากการไอ จามของผู้ป่วย หรือการสัมผัสตุ่มพุพองหรือแผลของผู้ป่วย โดยโรคนี้จะมีระยะฟักตัว 3-6 วันหลังจากได้รับเชื้อ

 

ทั้งนี้ สถานที่ที่มักพบการระบาดของโรค ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียนอนุบาล
 

อาการของโรค

            อาการเริ่มต้นของโรคมือ เท้า ปาก จะคล้ายไข้หวัด คือ มีไข้ประมาณ 2-4 วัน และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากนั้นจะมีผื่นแดงอักเสบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ต่อมาเกิดผื่นแดงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ในบางรายอาจพบที่ก้นด้วย โดยผื่นที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสและแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ  

            โรคมือ เท้า ปาก อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไปจนถึงเสียชีวิตได้

 

การรักษา
              โรคมือ เท้า ปาก ยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ แต่จะใช้การรักษาตามอาการที่เป็น เช่น   ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด

 

การป้องกัน

                 ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก อย่างไรก็ตามผู้ปกครองสามารถป้องกันโรคมือ เท้า ปาก รวมถึงป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้โดย

  • หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • รักษาอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด
  • ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ขวดนม
  • เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
  • ผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระต้องรีบซักให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ

-----------------------///////--------------------------

 

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!